โรคสัตว์ในหน้าร้อน ในช่วงเวลาที่ภูมิอากาศกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ระหว่างฤดูในแต่ละปี ก็มักมีโรคเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงให้เราต้องระวัง
โรคสัตว์ในหน้าร้อน เนื่องจากว่าภูมิอากาศ ในประเทศไทยนั้น ถูกจัดว่าเป็นเมืองร้อน โดยถึงแม้ว่า ในเมืองไทยจะมี ฤดูกาลอยู่สามฤดู แต่ก็ดูเหมือนว่า จะเน้นไปทาง ฤดูร้อนเสียมากกว่า เรียกว่าแทบจะร้อน กันตลอดทั้งปีว่าได้
และทุกสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ หรือมนุษย์ ก็ย่อมที่จะต้อง เผชิญหน้ากับคลื่นความร้อน ที่มีความรุนแรงอย่างมาก ในช่วงประมาณ เดือนเมษายนของทุกปี นี่คือเหตุผล ที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
โดยในช่วงหลัง อุณหภูมิความร้อน ในฤดูร้อนของเมืองไทย สามารถพุ่งทะยาน ทะลุถึง 40 องศาเซลเซียส และในบางครั้ง ความร้อนอาจจะทำให้เกิด เป็นปรากฏการณ์ฝนตกได้บ้าง แต่ก็ยังดูเหมือนว่าจะยังไม่เพียงพอ สิ่งมีชีวิตในฤดูร้อน
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ไม่ได้มีแค่เพียง อากาศที่ร้อนจัด ที่ทำให้ใครหลายคน ต้องมีอาการหงุดหงิด แต่ฤดูร้อนก็ยังนำพา เอาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มาสู่สัตว์เลี้ยงแสนรักของเรา ที่เราจะต้องเฝ้าระวัง กันให้จงหนัก เลี้ยงสัตว์ต้องรู้
ส่วนคำถามที่ว่า จะมีโรคภัยไข้เจ็บอะไรบ้าง ที่จะมาจู่โจม เล่นงานเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของเรา ในช่วงเวลาของฤดูร้อนบ้างนั้น เดี๋ยวเรามาดูกัน เพื่อที่จะสามารถ วางแผนป้องกัน ได้อย่างทันท่วงที โรคในฤดูฝน
โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงในฤดูร้อน
1. โรคฮีทสโตรก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ” โรคลมแดด “
โดยเจ้าโรคนี้ มักจะมาเพื่อเล่นงาน กับสัตว์เลี้ยงที่มีพื้นเพ มาจากประเทศ ที่เป็นเมืองหนาว ไม่ว่าจะเป็นกระต่าย แมว หรือว่าสุนัข ถ้าหากว่าเป็นสายพันธุ์ ที่มีถิ่นกำเนิด อยู่ในประเทศที่มี อากาศหนาวเย็น ก็มักจะมี ความเสี่ยงอย่างสูง ที่จะเกิดโรคนี้ได้
โดยสาเหตุของการ เกิดโรคนี้ในสัตว์เลี้ยง ก็เป็นผลมาจาก อุณหภูมิในสิ่งแวดล้อม ที่สัตว์เลี้ยงชนิดนั้นอาศัยอยู่ สูงเกินกว่าที่ สภาพร่างกาย ของมันจะรับได้
โดยอุณหภูมิความร้อน ที่สูงในสภาพแวดล้อม จะเป็นตัวกระตุ้น ให้อุณหภูมิภายในร่างกาย ของสัตว์เลี้ยงชนิดนั้น สูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยความร้อน ภายในร่างกายของมัน อาจจะสูงได้มากถึง 40.5 – 42 องศาเลยทีเดียว โรคในฤดูหนาว
และร่างกายของสัตว์เอง ก็ไม่สามารถที่จะ ระบายความร้อน ปรับอุณหภูมิที่สมดุล ภายในร่างกาย ได้ทันท่วงที ทำให้เกิดอาการ ล้มเหลวในการทำงาน ของอวัยวะภายในทุกส่วน จนถึงแก่ชีวิตในที่สุด
โดยผู้ที่เป็น เจ้าของสัตว์เลี้ยง สามารถสังเกตอาการ ของโรคดังกล่าวได้คือ เจ้าสัตว์เลี้ยงตัวโปรด จะมีอาการ เหมือนหายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง และมีลักษณะของการหายใจ แบบหอบเสียงดัง
มีน้ำลายไหลออกมา จากปากอย่างผิดสังเกต มึนงง จากที่เคยมีความเชื่อง ก็กลับมีอาการ ดุร้ายขึ้นมาอย่างผิดสังเกต และในบางกรณี อาจจะมีอาการถึงขั้นที่ จำเจ้าของผู้เลี้ยงเองไม่ได้ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่อันตราย เป็นอย่างมาก
แต่เราก็สามารถที่จะป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยง อาการของโรคนี้ ได้โดยการที่ ต้องงดการทำ กิจกรรมกลางแจ้ง ในวันที่มีอุณหภูมิ ร้อนจัดอย่างเด็ดขาด จัดสถานที่ให้สัตว์เลี้ยงอยู่ ในแบบที่สามารถ ถ่ายเทอากาศ ได้อย่างสะดวก โรคเลปโตสไปโรซิส
มีสายลมพัดผ่าน ให้ความเย็นสบาย อยู่ตลอดเวลา ปลอดจากแสงแดด อันร้อนแรงที่จะส่องถึง แต่ก็ไม่จำเป็น ถึงขั้นที่จะต้อง เปิดเครื่องปรับอากาศ แล้วใช้พัดลมเป่าใส่ มีน้ำสะอาด ให้มันได้ดื่ม อยู่ตลอดเวลา อย่าได้ขาดตกบกพร่อง
อย่าได้นำเอาสัตว์เลี้ยง ไปอาบน้ำด้วยน้ำ ที่มีอุณหภูมิเย็นจัด เพราะถ้าหากว่า เราทำอย่างนั้น เจ้าสัตว์เลี้ยงตัวน้อย ก็จะมีความเสี่ยง ที่จะเกิดอาการช็อค อีกด้วยเช่นกัน
2. โรคพยาธิในเม็ดเลือด
โดยปัญหาของโรคนี้ มักจะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง ที่เป็นประเภทของ “ สุนัข “ เสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหา ที่สุนัขทุกตัว ไม่สามารถที่จะ หลีกเลี่ยงได้ นั่นก็คือปัญหา ในเรื่องของ “ เห็บ “
เพราะเมื่อทันทีที่สุนัข มีปัญหาในเรื่องของเห็บ มันก็จะมีอาการ คันไปทั้งตัว และเมื่อมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น มันก็จะเป็นสาเหตุ ที่นำไปสู่ โรคพยาธิในเม็ดเลือด ที่ผู้ที่เป็นเจ้าของสุนัข ล้วนแล้วแต่มี ความกังวลใจ โรคในสัตว์เลี้ยง
โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ กับสุนัขทุกสายพันธุ์ และทุกเพศทุกวัย และในทันทีที่สุนัข เกิดมีอาการติดเชื้อ ก็จะมีอาการง่วงซึม ไม่กินอาหาร มีไข้สูง น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว และอาการในบางตัว อาจจะรุนแรง ถึงขั้นที่ขาหลัง เป็นอัมพาต แล้วก็ต้องเสียชีวิต ไปในที่สุด
ซึ่งเมื่อไหร่ที่สุนัข กำลังเป็นโรคนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นก็คือ มันเป็นโรคที่สามารถ สังเกตอาการได้ยากมาก โดยสิ่งที่ผู้เป็นเจ้าของสุนัข จะต้องทำเพื่อการป้องกัน ได้นั่นก็คือ ต้องคอยดูแล กำจัดเห็บหมัด อย่าให้มีในตัวสุนัข อย่างเด็ดขาด โรคในโค
แล้วต้องนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพ อยู่เป็นประจำ อีกทั้งยังต้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ อย่างเคร่งครัด จะให้เกิดความ ขาดตกบกพร่อง ไม่ได้เป็นอันขาด
แต่ถ้าหากว่า ทางด้านของสัตวแพทย์ ได้ทำการวินิจฉัยแล้วว่าสุนัขตัวนั้นติดเชื้อแล้ว ผู้ที่เป็นเจ้าของสุนัข ก็มีความจำเป็น ที่จะต้องเฝ้าคอย ติดตามอาการ อย่างใกล้ชิด ติดตามผลการรักษา ของสัตวแพทย์ ผู้ที่เป็นเจ้าของไข้ อย่างใกล้ชิด ด้วยเช่นเดียวกัน
3. โรคพิษสุนัขบ้า หรือที่รู้จักในอีกชื่อคือ ” โรคกลัวน้ำ “
ยังมีใครอีกหลายคน ที่ยังไม่ทราบว่า เจ้าโรคอันตรายโรคนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสุนัข แต่เพียงอย่างเดียว แต่มันยังสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ กับสัตว์เลี้ยงจำพวก หนู กระรอก กระต่าย และแมวอีกด้วย
และจากข้อมูลที่ได้มีการจัดเก็บเป็นสถิติก็ยังพบว่า แมวกับสุนัข เป็นพาหะที่นำเอาเชื้อโรคนี้มาสู่มนุษย์ได้อีกด้วย และเป็นสถิติ ที่มีตัวเลขอันน่ากลัว ในช่วงเวลาฤดูร้อนของทุกปี
โดยการติดเชื้อของโรคนี้ จะเกิดจากน้ำลายหลังจากเกิดการกัดข่วน หรือถูกเลียในบริเวณผิวหนังที่มีรอยแผลสด และหากมนุษย์ติดเชื้อโรคนี้ จะยังไม่มีการรักษาให้หายได้ และจะมีอาการหนัก ถึงขั้นเสียชีวิตไปทุกกรณี โรคในสุกร
โดยสุนัขที่ติดเชื้อโรคนี้ อาการที่แสดงบ่งบอกออกมานั่นก็คือ มีอารมณ์หงุดหงิด ออกอาการดุร้าย สามารถกัดทำร้ายได้แม้กระทั่งเจ้าของผู้เลี้ยงดู ไม่กินอาหาร น้ำลายไหลยืด จนดูผิดสังเกต
และต่อมาจะมีอาการของ อัมพาตอย่างเฉียบพลัน แล้วก็จะเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาอันสั้น สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของสุนัข จะต้องระมัดระวังอย่าให้สุนัขที่เลี้ยงอยู่ไปกัดข่วน หรือทำร้ายใครโดยเด็ดขาด โรคอาหารเป็นพิษ
แล้วจะต้องมีการนำเอาสุนัขที่เลี้ยงไว้ทุกตัว ไปเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปีละ 1 ครั้งเป็นประจำทุกปี และมีความจำเป็นจะต้องฉีดกระตุ้น หลังจากที่ได้ฉีดเข็มแรกไปแล้วประมาณ 1 ถึง 3 เดือน
ซึ่งในปัจจุบัน ก็ได้มีการรณรงค์ การฉีดวัคซีนป้องกันของโรคนี้กันอย่างกว้างขวาง เพราะเนื่องจากมันเป็นภัยร้าย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ และมีความใกล้ตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาจจะเป็นสุนัขที่เลี้ยงอยู่ภายในบ้านเอง ที่จะเป็นสาเหตุอันร้ายแรง
Artist Em