ลูกสุนัขแรกเกิด มีวิธีการดูแล อย่างไรบ้าง เมื่อคุณแม่มือใหม่ เลี้ยงลูกไม่เป็น
ลูกสุนัขแรกเกิด ต้องการได้รับ ความเอาใจใส่ จากแม่สุนัข มากเป็นพิเศษ ในช่วงหนึ่งเดือนแรก โดยเฉพาะแรกเกิด จนถึงอายุ 14 วัน เพราะลูกสุนัข จะเติบโตได้ สมบูรณ์แข็งแรง หรือจะอ่อนแอ จนต้องตายไป ก็อยู่ในช่วงนี้ แต่ถ้าหาก แม่สุนัขไม่ยอม เลี้ยงลูกเองหล่ะ เราจะทำอย่างไร ?
ปัญหาที่พบ ได้ทั่วไปใน แม่สุนัขมือใหม่ ที่ไม่เคยท้องมาก่อน โดยเฉพาะสุนัข ที่เป็นการผ่าคลอด หลังจากฟื้นขึ้นมา จะยังไม่รู้ตัว ว่ามีลูกน้อย ที่ต้องดูแล และอาจจะยัง ไม่ยอมรับลูก ๆ ของตนเอง ในช่วงแรก ๆ เราจึงต้องคอย เป็นเหมือนพี่เลี้ยง ดูแลอย่างใกล้ชิด
เมื่อถึงคราว ที่ต้องสวมบท คุณแม่จำเป็น เราจะต้องดูแล เจ้าตัวน้อยแบบไหน เตรียมตัวอย่างไร และควรระวัง เรื่องอะไรบ้าง บทความนี้ จะรวบรวมข้อมูล การดูแลสุนัข ตั้งแต่แรกเกิด ในทุกมิติ เพื่อให้คุณได้ เตรียมความพร้อม รับมือกับน้อง ๆ ตัวป่วนกันค่ะ
ลูกสุนัขแรกเกิด ต้องการนมแม่มากที่สุด
สารอาหารที่ สำคัญที่สุด ของสุนัขแรกเกิด คือ “นมน้ำเหลือง” หรือ Colostrum ที่มาจาก ต่อมน้ำนมของ แม่สุนัขใน ช่วงเวลา 1-3 วันแรกหลังคลอด เพราะนอกจาก สารอาหารที่ได้ จากนมน้ำเหลืองแล้ว ยังเป็นแหล่ง พลังงานสำคัญและ แหล่งภูมิคุ้มกันหลัก ๆ ของลูกสุนัขอีกด้วย ซึ่งลูกสุนัข ควรจะได้รับ นมน้ำเหลืองจาก แม่สุนัขภายใน 1-3 วันแรกหลังคลอด
หากแม่สุนัข ไม่ยอมให้นม หรือมีน้ำนม ที่ไม่เพียงพอ สามารถใช้เป็น ผลิตภัณฑ์ทดแทน น้ำนมแม่จาก โรงพยาบาลสัตว์ ใกล้บ้านได้ ผลิตภัณฑ์ที่ถูก ออกแบบมาเพื่อ สุนัขโดยเฉพาะ จะมีสารอาหาร ที่จำเป็นสำหรับ ลูกสุนัขและ ช่วยลดโอกาส การท้องเสีย ในกรณีที่สุนัข ย่อยอาหารบางอย่าง ในน้ำนมไม่ได้
ถ้าลูกสุนัข แข็งแรงไม่เท่ากัน ต้องให้การดูแล เป็นพิเศษ ตัวที่ไม่แข็งแรง หรือตัวเล็กกว่า จะเสี่ยงต่อการ เสียชีวิตได้ อีกตัวแปรหนึ่ง คือแม่สุนัข เลี้ยงลูกเป็นหรือไม่ ถ้าเลี้ยงเก่งเลี้ยงเป็น เราก็สบายใจได้ แต่ถ้าแม่สุนัข ที่เลี้ยงลูกไม่เป็น เราต้องรับหน้าที่ มาคอยจับลูก ให้ได้กินนมแม่ และคอยระวัง ไม่ให้แม่สุนัข เผลอนอนทับลูก
การกระตุ้นการขับถ่าย
โดยปกติแล้ว แม่สุนัขจะต้อง คอยเลียทั่วตัวลูก ให้ตัวสะอาด และกระตุ้นการ ขับถ่ายของเสีย แต่หากแม่สุนัข ไม่ยอมทำ ก็เป็นหน้าที่ ของทาสอย่างเรา หลังจากป้อนนม ให้ลูกสุนัขแล้ว เจ้าของก็ควร ใช้สำลีสะอาด ชุบน้ำอุ่น ๆ แล้วบีบหมาด ๆ มาเช็ดถูบริเวณ หน้าท้อง รอบก้น และรอบอวัยวะเพศ
ถ้าเราไม่ดูแล ลูกสุนัขอาจ จะเกิดภาวะ ท้องอืดแน่น ทำให้ปวดท้อง และอาจเสียชีวิตได้ จนเมื่ออายุได้ 15-21 วัน ลูกสุนัขจึงจะ สามารถคลานไป ขับถ่ายได้เอง โดยไม่ต้องกระตุ้น ดังนั้นเราจึง ต้องคอยสังเกต เพื่อให้มั่นใจ ว่าเจ้าตัวน้อย มีการขับถ่าย ที่เป็นปกติหรือไม่
มีอุณหภูมิ ที่เหมาะสม
ลูกสุนัขที่เพิ่งเกิด ไม่สามารถรักษา อุณหภูมิร่างกายได้ ผู้เลี้ยงจึงควร จัดสรรพื้นที่ปิด ไม่มีช่องให้ ลูกสุนัขคลานตก หรือหลุดออกมา และไม่มีลมโกรก เราสามารถเพิ่ม ความอบอุ่นให้ ลูกสุนัขด้วยการ ใช้หลอดไฟอินฟาเรด
หรือหลอดไฟแบบมีไส้ ที่ให้ความร้อนได้ อุณหภูมิที่ เหมาะสมของ สุนัขแรกเกิดช่วง สัปดาห์แรกจะ อยู่ระหว่าง 29.5 ถึง 32°C3 ให้สังเกตการ กระจายตัวของ ลูกสุนัขแบบต่าง ๆ ดังนี้
- หากมีอุณหภูมิ ที่อุ่นพอดี ลูกสุนัขจะนอน กระจายตัว อย่างเหมาะสม
- หากหนาวเกินไป ลูกสุนัขทั้งหลาย จะนอนรวมกัน เบียดเสียดกัน เป็นกองเดียว
- หากร้อนเกินไป นอนแบบกระจายกัน ไม่นอนจุดที่ ไฟตกลงมา ให้ลองวางไฟ สูงขึ้นจากเดิม มากขึ้นอีกนิด และวางไว้แค่ มุมใดมุมหนึ่ง เพียงเท่านั้น
รักษาความสะอาด แหล่งเกิดเชื้อโรค
ลูกสุนัขแรกเกิดนั้น ยังไม่ต้องการ การเล่นหรือการ ทำกิจกรรม อะไรมากมาย สิ่งที่ต้องการ มากที่สุดวัยนี้ คือการนอนหลับ เจ้าของจึงควร ช่วยดูแลให้ ที่นอนของน้อง ๆ สะอาด อบอุ่นและแห้งอยู่เสมอ ควรเก็บแผ่นรองซับ สิ่งขับถ่ายทุกครั้ง ที่ลูกสุนัขเสร็จธุระ
และต้องตรวจเช็ค ให้แน่ใจว่า บริเวณที่นอน ไม่มีแดดส่อง แรงจนเกินไป ไม่มีแมลงต่าง ๆ หรือสัตว์มีพิษ มาคอยรบกวน และไม่ควร อยู่ใกล้ทางเดิน ที่มีผู้คน เดินไปเดินมา รบกวนตลอดเวลา เพื่อให้เจ้าตัวน้อย รู้สึกปลอดภัย และนอนหลับได้ อย่างเต็มที่
เฝ้าดู สังเกต การเจริญเติบโต
ควรชั่งน้ำหนัก ลูกสุนัขทุกวัน ในช่วง 3 สัปดาห์แรก หลังจากคลอด และจดบันทึกไว้ เพื่อดูการ เจริญเติบโต และสุขภาพ ของลูกสุนัข ถ้าหากลูกสุนัข ได้รับนมเพียงพอ จะมีน้ำหนักตัว ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าหากน้ำหนัก ลูกสุนัขไม่เพิ่ม หรือลดน้อยลง แสดงให้เห็นว่า ลูกสุนัขอาจมี ปัญหาสุขภาพ ที่ส่งผลต่อ การเจริญเติบโต ที่ผิดปกติได้
โดยปกติแล้ว สุนัขเมื่อแรกเกิดนั้น จะยังไม่ได้ยินเสียง และมองไม่เห็น เพราะประสาทตา และประสาทหู ยังทำงานได้ ไม่เต็มที่ โดยลูกสุนัข จะเริ่มมองเห็น ได้ตอนอายุ 12-14 วัน ส่วนหูเริ่มได้ยิน เมื่อตอนอายุได้ ประมาณ 20 วัน ดังนั้นในช่วง หนึ่งเดือนแรก เราต้องคอยเฝ้า ดูแลลูกสุนัข มากเป็นพิเศษ เพราะช่วงนี้น้อง ๆ จะยังช่วยเหลือ ตัวเองไม่ค่อยได้ และอาจจะคลาน ปีนป่ายจนตก หรือถูกทับจาก ข้าวของต่าง ๆ